วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2560

บทความที่ 1 ทฤษฎีการพลิกผัน (The theory of disruption)

ทฤษฎีการพลิกผัน (The theory of disruption)
       ทฤษฎีการพลิกผัน หรือ The theory of disruption หากเราทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ ก็จะทำให้นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ ผู้วางนโยบาย ผู้นำ และผู้บริหารในทุกภาคส่วน มีมุมมองใหม่ (New perspective) ซึ่งนวัตกรรมที่จะทำให้เกิดการผลิกผัน (Disruptive innovation) ถือว่ามีรูปแบบที่มีพลวัตร (Dynamic) สูงมาก ที่จะทำให้อุตสาหกรรมเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด เพราะสามารถไปปลดล็อคการเติบโตทางเศรษฐกิจและสวัสดิการสังคมได้

          Disruption จะทำให้เกิดพลังที่เรียกว่า “การทำลายอย่างสร้างสรรค์ (Creative destruction)” ทำให้เกิดการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการจัดสรรทรัพยากรรูปแบบใหม่ ทำลายรูปแบบดั้งเดิมที่ไร้ประสิทธิภาพ โดยจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการผลิต อีกทั้งทำให้ราคาลดต่ำลงอย่างมาก จนเกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม
อีกมุมหนึ่ง disruption จะไปผลักดันทำให้เกิดการพัฒนาสวัสดิการสังคมด้วยการ “สร้างอย่างสร้างสรรค์ (Creative construction)” ซึ่งถือได้ว่ามีพลังอำนาจอย่างมาก เช่น องค์กรต่างๆ จะต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ จากการควบคุม ไปเป็นการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการมองหาโอกาสใหม่ ซึ่งจะทำให้การรวมพลังจากคนจำนวนมหาศาลมาร่วมกันสร้างจนทำให้ไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ 2-3 คนมาทำงานอีกต่อไป และจะสามารถสร้างสิ่งใหม่ที่ในอดีตที่ไม่สามารถทำได้มาก่อน ตัวอย่างเช่น Wikipedia เป็นต้น ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของการ disruption ให้ Encyclopedia ต้องอวสานลง จนเปิดโอกาสให้คนทั้งโลกเข้าถึงความรู้ด้วยราคาที่ต่ำมากและไม่จำเป็นต้องง้อตำราใดๆ
           ความสะดวกสบายมีมากขึ้น ราคาลดต่ำลง การเข้ามาใช้งานจากผู้บริโภคสูงขึ้นอย่างมหาศาล ก็จะส่งผลให้เกิดการ disruption ในที่สุด ดังนั้น จึงทำให้เราเริ่มเห็นบริษัทที่บริหารงานแบบเดิม ท่ามกลางเครื่องมือดิจิทัลใหม่ๆ ที่ทรงพลังและราคาถูก กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกบริษัทยุคใหม่เข้ามาท้าทาย
        การเกิด disruption จะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พวกเขาไม่เคยได้ ไม่ว่าจะเป็นใช้งานง่าย (โดยไม่ต้องมีความรู้ความชำนาญ) เข้าถึงช่องทางจัดจำหน่ายง่าย วิธีจ่ายเงินง่าย ซึ่งความง่ายเหล่านี้ ผู้บริโภคไม่เคยได้รับจากผลิตภัณฑ์และบริการประเภทนี้มาก่อน จึงเป็นการปลดล็อคที่ผู้บริโภคจำนวนมากที่ไม่เคยบริโภคสินค้าและบริการประเภทนี้มาก่อน กระโดดเข้ามาใช้เป็นจำนวนมหาศาล ด้วยราคาที่สมเหตุสมผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น